ยินดีตอนรับเข้าสู่ Web blog ของ ปาริฉัตร ธรรมดา (ฝน) ค.บ.4 คณิตศาสตร์ หมู่ 2 ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู PC 9203
...สวัสดีค่ะท่านผู้ชม webblog ทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ผู้จัดทำหวังว่าผู้ที่ชม webblog ทุกท่านจะได้นำความรู้ที่มีใน webblog นี้ไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย webblog นี้เป็นส่วนหนึงของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู จัดทำโดย นางสาวปาริฉัตร ธรรมดา คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่ 2 ขอให้มีความสุขกับการชม webblog นะค่ะ....^_^

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบูรณาการกับความพอเพียง

 การบูรณาการหลักความพอเพียงกับการศึกษา

ด้านการเรียนของนักเรียน
การดำเนินงานด้านการเรียนของนักเรียนในการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    1.   โรงเรียนได้ร่วมมือกับชุมชนจัดการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2.  โรงเรียนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเรียนในระยะแรก ได้เริ่มจากการทำกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตร พัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ  พอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน  ดังนี้
           นักเรียนในทุกช่วงชั้นได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการ 6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนแต่ละรายวิชาให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชาที่บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น นักเรียนช่วงชั้นที่ 1  ทำการออมเงินได้ จากการหยอดกระปุกออมสิน  นักเรียนช่วงชั้นที่ 2  ทำบันทึกรายรับรายจ่ายได้ มีการออมเงินนำไปฝากธนาคารโรงเรียน   นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง   ฝึกให้นักเรียนคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์  สุจริต  รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น   มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม   สืบสานวัฒนธรรมไทยในฐานการเรียนรู้ทุกกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น    อีกทั้งในกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีการเรียนกาสอนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรมในชั่วโมงคุณธรรม    
3.  นักเรียนแต่ละช่วงชั้นปฏิบัติกิจกรรมจากฐานการเรียนรู้ เพื่อนำองค์ไปใช้ในการดำรงชีวิต
       - ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้นักเรียนพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น
            นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ช่วยเหลือผู้ปกครองล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อนกินอาหารให้หมดจาน 
            นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2- 3  เขียนรายจ่ายของตนเองในแต่ละวัน ว่าซื้ออะไรบ้างไหน เช่น ซื้อสบู่  12 บาท จะต้องไม่เอามาละลายน้ำเล่น จะต้องสอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง  พ่อแม่หาเงินมายากแค่ จะได้ฝึกนิสัยประหยัด จะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียงและออมเงินหยอดกระปุกออมสินได้ มีหลายโรงเรียนทำแล้ว 
       - ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้นักเรียนรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวได้   มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียนและครอบครัว ชุมชน โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น ชมรมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ชมรมนักพฤกษศาสตร์น้อยและชมรมพลังยุวเกษตรกร
        - ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน เช่น ชมรมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ชมรมนักพฤกษศาสตร์น้อย ชมรมพลังยุวเกษตรกรและในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน
4.   การจัดตารางเวลาการเรียนของนักเรียน นักเรียนจะได้เรียนในการสอดแทรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาในชั่วโมงที่มีการออกแบบการเรียนรู้ในแผนที่จัดกิจกรรมสอดแทรก  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีในชั่วโมงที่จัดให้ตามโครงสร้างและสอดแทรกตามเนื้อหาที่จัดการเรียนการสอน
5. นักเรียนนำเสนอผลงานในกิจกรรมที่ตนเองปฏิบัติ เช่น
        -  ชุมนุมพืชผักสวนครัว นำผลผลิตของตนเองออกจำหน่ายให้ทางโรงเรียนเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวัน เหลือก็เก็บไว้รับประทานใน ครอบครัว  
        -  ชุมนุมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมขยายผลต่อเพื่อนักเรียนเกี่ยวกับสภาพลำคลองในโรงเรียนว่าทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์และดูแลตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 
        -  นักเรียนตัวแทนชุมนุมพลังยุวเกษตรกรน้อยขยายผลต่อเพื่อนนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาดูงานร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงงานชุมนุมยุวเกษตรกรระดับประเทศ
ผลการดำเนินงาน
  1.  นักเรียนร้อยละ 65 มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการเรียนรู้ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้
  2. นักเรียนร้อยละ 65 สามารถบอกหลักความพอเพียงในกิจกรรมที่ปฏิบัติได้
  3. นักเรียนร้อยละ 80 มีรายได้ระหว่างเรียนโดยการปลูกผักสวนครัวเพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันจากกิจกรรมปลูกผักสวนส่งเสริมให้
  4. นักเรียนร้อยละ 80 มีนิสัยประหยัด อดออมจากกิจกรรมธนาคารโรงเรียน
  5. นักเรียนร้อยละ 75 มีความรับผิดชอบ มีนิสัยรักความสะอาด สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้จากกิจกรรมคณะสี
  6.  นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิถีการดำเนินชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย ฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ และด้านการทำผิดระเบียบของทางโรงเรียนจากกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน (สภานักเรียน) ทำให้
  7.  นักเรียนร้อยละ 75 เป็นคนอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมวิถีพุทธ การอบรมคุณธรรมประจำสัปดาห์
  8.  นักเรียนร้อยละ 50 ได้ฝึกการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบนอุทยานดอยภูลังกา  และการนำเสนอขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขาเผ่าม้งจาก กิจกรรมยุวมัคคุเทศก์
แนวทางการพัฒนา
  1.  สร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจ                       พอพียงครบทั้ง 8  กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงผ่านการทำกิจกรรมโครงงานที่เชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. ส่งเสริมให้นักเรียนนำเสนอผลงาน นิทรรศการจากผลที่ดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในโรงเรียน ชุมชน และโรงเรียนเครือข่ายเพื่อการขยายผลและเสริมแรงกระตุ้นทางบวกในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
  4. สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนจากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกเพื่อโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  5.   ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการเรียนรู้กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงเพื่อนำสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น