ยินดีตอนรับเข้าสู่ Web blog ของ ปาริฉัตร ธรรมดา (ฝน) ค.บ.4 คณิตศาสตร์ หมู่ 2 ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู PC 9203
...สวัสดีค่ะท่านผู้ชม webblog ทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ผู้จัดทำหวังว่าผู้ที่ชม webblog ทุกท่านจะได้นำความรู้ที่มีใน webblog นี้ไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย webblog นี้เป็นส่วนหนึงของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู จัดทำโดย นางสาวปาริฉัตร ธรรมดา คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่ 2 ขอให้มีความสุขกับการชม webblog นะค่ะ....^_^

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา
         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา       
         เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
                1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
                2.อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
                3.ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
                4.อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
                5.อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
                6.บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
                7.อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ 
                8.บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
                9.บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
               10.บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
               11.อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
               12.อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
               13.ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
               14.สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้    
               15.นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน
     หน่วยการเรียนที่ 1    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
     หน่วยการเรียนที่ 2    ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     หน่วยการเรียนที่ 3    คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
     หน่วยการเรียนที่ 4    ซอฟต์แวร์
     หน่วยการเรียนที่ 5    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     หน่วยการเรียนที่ 6    อินเตอร์เน็ต
     หน่วยการเรียนที่ 7    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 8
    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

รูปแบบของกระบวนการเรียนการรู้

  • วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
  • เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
  • เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)
กิจกรรมการเรียนการสอน
  • การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
  • การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
  • การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
  • การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
  • การสรุปเป็นรายงาน
  • การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การบูรณาการกับความพอเพียง

 การบูรณาการหลักความพอเพียงกับการศึกษา

ด้านการเรียนของนักเรียน
การดำเนินงานด้านการเรียนของนักเรียนในการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    1.   โรงเรียนได้ร่วมมือกับชุมชนจัดการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2.  โรงเรียนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเรียนในระยะแรก ได้เริ่มจากการทำกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตร พัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ  พอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน  ดังนี้
           นักเรียนในทุกช่วงชั้นได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการ 6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนแต่ละรายวิชาให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชาที่บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น นักเรียนช่วงชั้นที่ 1  ทำการออมเงินได้ จากการหยอดกระปุกออมสิน  นักเรียนช่วงชั้นที่ 2  ทำบันทึกรายรับรายจ่ายได้ มีการออมเงินนำไปฝากธนาคารโรงเรียน   นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง   ฝึกให้นักเรียนคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์  สุจริต  รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น   มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม   สืบสานวัฒนธรรมไทยในฐานการเรียนรู้ทุกกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น    อีกทั้งในกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีการเรียนกาสอนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรมในชั่วโมงคุณธรรม    
3.  นักเรียนแต่ละช่วงชั้นปฏิบัติกิจกรรมจากฐานการเรียนรู้ เพื่อนำองค์ไปใช้ในการดำรงชีวิต
       - ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้นักเรียนพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น
            นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ช่วยเหลือผู้ปกครองล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อนกินอาหารให้หมดจาน 
            นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2- 3  เขียนรายจ่ายของตนเองในแต่ละวัน ว่าซื้ออะไรบ้างไหน เช่น ซื้อสบู่  12 บาท จะต้องไม่เอามาละลายน้ำเล่น จะต้องสอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง  พ่อแม่หาเงินมายากแค่ จะได้ฝึกนิสัยประหยัด จะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียงและออมเงินหยอดกระปุกออมสินได้ มีหลายโรงเรียนทำแล้ว 
       - ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้นักเรียนรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวได้   มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียนและครอบครัว ชุมชน โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น ชมรมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ชมรมนักพฤกษศาสตร์น้อยและชมรมพลังยุวเกษตรกร
        - ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน เช่น ชมรมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ชมรมนักพฤกษศาสตร์น้อย ชมรมพลังยุวเกษตรกรและในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน
4.   การจัดตารางเวลาการเรียนของนักเรียน นักเรียนจะได้เรียนในการสอดแทรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาในชั่วโมงที่มีการออกแบบการเรียนรู้ในแผนที่จัดกิจกรรมสอดแทรก  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีในชั่วโมงที่จัดให้ตามโครงสร้างและสอดแทรกตามเนื้อหาที่จัดการเรียนการสอน
5. นักเรียนนำเสนอผลงานในกิจกรรมที่ตนเองปฏิบัติ เช่น
        -  ชุมนุมพืชผักสวนครัว นำผลผลิตของตนเองออกจำหน่ายให้ทางโรงเรียนเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวัน เหลือก็เก็บไว้รับประทานใน ครอบครัว  
        -  ชุมนุมยุวชนพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมขยายผลต่อเพื่อนักเรียนเกี่ยวกับสภาพลำคลองในโรงเรียนว่าทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์และดูแลตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 
        -  นักเรียนตัวแทนชุมนุมพลังยุวเกษตรกรน้อยขยายผลต่อเพื่อนนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาดูงานร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงงานชุมนุมยุวเกษตรกรระดับประเทศ
ผลการดำเนินงาน
  1.  นักเรียนร้อยละ 65 มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการเรียนรู้ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้
  2. นักเรียนร้อยละ 65 สามารถบอกหลักความพอเพียงในกิจกรรมที่ปฏิบัติได้
  3. นักเรียนร้อยละ 80 มีรายได้ระหว่างเรียนโดยการปลูกผักสวนครัวเพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันจากกิจกรรมปลูกผักสวนส่งเสริมให้
  4. นักเรียนร้อยละ 80 มีนิสัยประหยัด อดออมจากกิจกรรมธนาคารโรงเรียน
  5. นักเรียนร้อยละ 75 มีความรับผิดชอบ มีนิสัยรักความสะอาด สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้จากกิจกรรมคณะสี
  6.  นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิถีการดำเนินชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย ฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ และด้านการทำผิดระเบียบของทางโรงเรียนจากกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน (สภานักเรียน) ทำให้
  7.  นักเรียนร้อยละ 75 เป็นคนอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมวิถีพุทธ การอบรมคุณธรรมประจำสัปดาห์
  8.  นักเรียนร้อยละ 50 ได้ฝึกการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบนอุทยานดอยภูลังกา  และการนำเสนอขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขาเผ่าม้งจาก กิจกรรมยุวมัคคุเทศก์
แนวทางการพัฒนา
  1.  สร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจ                       พอพียงครบทั้ง 8  กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงผ่านการทำกิจกรรมโครงงานที่เชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. ส่งเสริมให้นักเรียนนำเสนอผลงาน นิทรรศการจากผลที่ดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในโรงเรียน ชุมชน และโรงเรียนเครือข่ายเพื่อการขยายผลและเสริมแรงกระตุ้นทางบวกในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
  4. สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนจากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกเพื่อโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  5.   ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการเรียนรู้กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงเพื่อนำสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การบูรณาการกับความซื่อสัตย์

       ความซื่อสัตย์ บ้างก็ว่า ความสัตย์ หรือ ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึงแง่มุมหนึ่งของศีลธรรม แสดงถึงลักษณะของคุณธรรมในแง่บวกอาทิ บูรณภาพ ความจริงใจ และความตรงไปตรงมา พร้อมด้วยการงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือการลักขโมย เพราะหากไม่งดเว้น ก็จะกลายเป็นการเสแสร้งแกล้งทำเพียงเท่านั้น
       ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง

      มีเรื่องให้อิ่มใจในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียน  ตอนเย็นวันศุกร์ ขณะที่กำลังจะปิดประตูห้องเรียน  ได้ยินเสียงเรียก "คุณครูครับ ๆ" มาแต่ไกล  เห็นเด็กชาย ๒ คน วิ่งหน้าตั้งมาหาครู   พอมาถึงก็ยื่นเงินเหรียญ  ๑๐  บาท ให้พร้อมกับบอกว่า  "ผมเก็บเงินได้ที่ข้างถนนด้านนอกโรงเรียนครับ"

     ครูซักถามข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย และกล่าวชมเชยชื่นชมในคุณความดีครั้งนี้พร้อมกับให้พร  เพื่อเป็นกำลังใจและให้ความมั่นใจในการทำดีต่อๆ ไป 

       วันนั้นครูเดินยิ้มออกจากโรงเรียนด้วยความสุขใจ  นึกถึงเด็กชายที่เก็บเงินได้  ถ้าเก็บเอาไปใช้เองก็ไม่มีใครรู้     บอกเพื่อนแล้ว ทั้งสองแบ่งกันคนละ ๕ บาท ก็ย่อมได้  แต่เด็กทั้งสองไม่คิดเช่นนั้น    คิดว่าเงินไม่ใช่ของเขา  ครั้นจะถามหาเจ้าของก็ไม่ได้ จึงนำมาให้ครู   นั่นก็แสดงถึงคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ  สะท้อนถึงสภาพ  ครอบครัวที่อบอุ่น  มั่นคง มีจริยธรรม และการอบรมบ่มเพาะ    ของพ่อแม่ ครูอาจารย์  ทีสำคัญคือจิตใจใฝ่ดีของเด็กเอง    ที่มุ่งมั่นพัฒนาให้คุณธรรมเจริญงอกงามขึ้นในจิตใจดวงน้อย ครูเชื่อว่า เติบใหญ่ภายหน้าย่อมเป็นคนดีอย่างแน่นอน

   จาก "คำพ่อสอน" ว่า

 " ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง   เด็กๆจึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง   เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด  ที่เจริญมั่นคง..."

             (พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก พ.ศ.๒๕๓๑ )

  "...รากฐานที่นับว่าสำคัญ คือ รากฐานทางจิตใจ  อันได้แก่  ความหนักแน่น  มั่นคงในสุจริตธรรมอย่างหนึ่ง  ในความมุ่งมั่นที่จะประกอบกิจการงานให้ดีจนสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง "

             การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ทำลายสังคมอย่างรุนแรงและฝังรากลึก เป็นปัญหาที่สะท้อนวิกฤตการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม ซึ่งการที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนนั้น คนในสังคมต้องมีค่านิยมในการรักความดีและรู้สึกไม่ยอมรับพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันและการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องนี้จะเป็นรากฐานสำคัญเพื่อทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ได้ผลที่สุด

               ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง  ครูก็หวังให้ลูกศิษย์ทุกคนมีคุณธรรมข้อนี้ เป็นคนดีของสังคม   ของประเทศชาติ .......  

     'ความซื่อสัตย์' จิตสำนึกที่ต้องเร่งปลูกฝังแก่เด็กไทย

         มีหลายคนมักจะมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำสิ่งใหม่ที่ดี โดยเริ่มต้นจากปีใหม่ บางคนตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น บางคนวาดฝันหวังที่จะเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่ชีวิตใหม่ที่สวยงามประสบความสำเร็จมีอนาคตที่งดงาม มีจำนวนไม่น้อยที่จัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างมีความสุขสนุกสนาน ต่างมอบคำอวยพรส่งความสุขความปรารถนาดีให้แก่กันและกัน
       “ความซื่อสัตย์” เป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับคนไทยในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าดูจากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนของ “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เรื่อง “คุณธรรมกับเยาวชนไทยในอนาคต” เมื่อเดือนกันยายน 2555 พบว่า คุณธรรมพื้นฐานที่เยาวชนควรได้รับการปลูกฝังมากที่สุดอันดับแรก คือ “ความซื่อสัตย์” ส่วนการมีวินัย ความสามัคคี การมีน้ำใจ ความขยัน ความสุภาพ ความประหยัด และความสะอาด รองลงมาตามลำดับ ส่วนสิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อเยาวชนไทยในอนาคต คือ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ มีความกตัญญูกตเวที รวมทั้งมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง และเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต     แต่จากสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าความซื่อสัตย์ของคนไทยค่อนข้างน้อย ดังที่ปรากฏในผลการสำรวจของ “สวนดุสิตโพล” พบว่า “การทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง” เป็นปัญหาอันดับแรกในแวดวงการเมืองไทยที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน    ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ ’ความซื่อสัตย์สุจริต“ ของ ’คนไทย“ ลดน้อยลง คือ ความเห็นแก่ตัว ความละโมบ กิเลสตัณหาที่มีมากขึ้น ขาดการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ ขาดแบบอย่างที่ดี สังคมเปลี่ยนแปลง มีเทคโนโลยี สิ่งยั่วยุ วัตถุนิยมมากขึ้น
        ณ วันนี้ คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ความซื่อสัตย์” เป็นความคาดหวังสำคัญที่ทุกคนต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทย อย่างไรก็ตาม ในการปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหน้าที่ของทุกคนทุกภาคส่วนในสังคมต้องช่วยกันผลักดันขับเคลื่อนสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้น โดยครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ต้องช่วยกันดูแลสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกด้วยการแนะนำ สั่งสอน และที่สำคัญคือต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในบุคคลในครอบครัว
        ด้านโรงเรียนและสถาบันการศึกษา มีหน้าที่ให้การศึกษาอบรม บ่มนิสัย การสร้างนิสัยความซื่อสัตย์สุจริตจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องให้การเอาใจใส่ดูแลไม่น้อยกว่าการทำให้ผู้เรียนมีความรู้และมีลักษณะที่พึงประสงค์อื่นๆ ทุกกิจกรรมที่จัดจะต้องเน้นการส่งเสริมให้เกิดความซื่อสัตย์สุจริต
ส่วนสถาบันทุกภาคส่วนในสังคม มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างลักษณะนิสัยความซื่อสัตย์สุจริต เช่น องค์กรทางศาสนามีส่วนช่วยในการอบรม สร้างความเชื่อ ความศรัทธาให้เกิดขึ้น สื่อมวลชนมีส่วนในการกระตุ้น ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก จิตสำนึกในความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น เพื่อสร้างค่านิยมและทัศนคติในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต และให้ทุกคนได้ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต
        เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมแห่งความสุข เด็ก เยาวชน คนไทยมีความซื่อสัตย์ รักความยุติธรรม ดังนั้นเราจงมาเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยการร่วมกันบ่มเพาะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคต และฝากความหวัง  ในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวไกลและมั่นคงสืบไป.